บทความเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 เปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน
ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.วิศวกรรม (Engineering Services)
2.พยาบาล (Nursing Services)
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5.แพทย์ (Medical Practitioners)
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7.บัญชี (Accountancy Services)
2.พยาบาล (Nursing Services)
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5.แพทย์ (Medical Practitioners)
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7.บัญชี (Accountancy Services)
อาเซียน จัดเป็นกลุ่มความร่วมมือของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก่าแก่กลุ่ม หนึ่งในเอเชีย มีอายุเกือบ 40 ปี ฝากชื่อเสียงและผลงานความสำเร็จอย่างสูงในยุคสงคราม อินโดจีน ด้วยการรวมพลังกันคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาคและนำความสงบร่มเย็น มาสู่ดินแดนเอเชียอาคเนย์จนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนบทบาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มฉายแววรุ่งโรจน์ในปี 2535 ด้วยการประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่จะขจัดอุปสรรคทางการค้าภายในกลุ่มให้หมดสิ้น ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีภายในปี 2553-2558 ขณะนี้กลุ่มอาเซียนได้บรรลุเป้าหมาย AFTA ในระดับหนึ่งแล้ว โดยสินค้าเกือบทั้งหมด (99.6%) ของประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ มีอัตราภาษีศุลกากรลดลงเป็นลำดับ ปัจจุบันอยู่ในระดับเฉลี่ยประมาณ 2.39% ส่งผลให้การค้าขายภายในกลุ่มเฟื่องฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย อาเซียนก้าวเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
ท่ามกลางการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างมากในเวทีโลก กระตุ้นให้กลุ่มอาเซียนต้องเร่งกระชับความร่วมมือให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น ในที่สุดผู้นำอาเซียนออกแถลงการณ์ Bali Accord II ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประกาศจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ได้ ดำเนินการอยู่แล้วให้ลึกและกว้างขึ้น ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับเป้าหมายอีก 2 ด้าน ได้แก่ การเป็นประชาคมแห่งความมั่นคง (ASEAN Security Community : ASC) และประชาคมทางสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เพื่อมุ่งหวังให้อาเซียนเป็นประชาคมเดียวกันอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับ “วิสัยทัศน์ของอาเซียนปี ค.ศ. 2020” (ASEAN Vision 2020) ที่ผู้นำอาเซียนได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการผลักดันให้อาเซียนเป็นหุ้นส่วน ในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง (Partnership in Dynamic Development) ภายในปี ค.ศ.2020
ท่ามกลางการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างมากในเวทีโลก กระตุ้นให้กลุ่มอาเซียนต้องเร่งกระชับความร่วมมือให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น ในที่สุดผู้นำอาเซียนออกแถลงการณ์ Bali Accord II ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประกาศจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ได้ ดำเนินการอยู่แล้วให้ลึกและกว้างขึ้น ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับเป้าหมายอีก 2 ด้าน ได้แก่ การเป็นประชาคมแห่งความมั่นคง (ASEAN Security Community : ASC) และประชาคมทางสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เพื่อมุ่งหวังให้อาเซียนเป็นประชาคมเดียวกันอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับ “วิสัยทัศน์ของอาเซียนปี ค.ศ. 2020” (ASEAN Vision 2020) ที่ผู้นำอาเซียนได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการผลักดันให้อาเซียนเป็นหุ้นส่วน ในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง (Partnership in Dynamic Development) ภายในปี ค.ศ.2020
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเป้าหมายล่าสุดทางเศรษฐกิจที่ ทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน โดยจะเปิดเสรีทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานที่มีทักษะ รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น นับว่าเป็นรูปแบบของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจทางภูมิภาค (Regional Economic Integration) ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มในลักษณะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่ได้ก้าวไปถึงขั้นการเป็น สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) ดังเช่นสหภาพยุโรป (European Union : EU) ซึ่งมีการใช้เงินสกุลเดียวกัน ควบคู่กับการเปิดเสรีการค้า การบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต พร้อมทั้งปรับนโยบายเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป ให้ประสานสอดคล้องกันด้วย
การดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมาย AEC
การก้าวไปสู่การเป็น AEC ตามมติของผู้นำอาเซียน ดำเนินการโดยเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนที่มีอยู่เดิม และริเริ่มการดำเนินการใหม่เพื่อกระชับความร่วมมือให้แข็งแกร่งขึ้น นับตั้งแต่จัดตั้งอาเซียนในปี 2510 อาเซียนได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ เรื่อยมา ได้แก่ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เขตการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการตามกรอบความตกลงเปิดเสรีด้านการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Trade in Services : AFAS) รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ขณะนี้ อาเซียนเห็นพ้องกันในการเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง และกำหนดประเทศสมาชิกที่รับผิดชอบในแต่ละสาขา ได้แก่ การท่องเที่ยวและการบิน ไทยรับผิดชอบ สินค้าเกษตรและสินค้าประมง (พม่า) ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้ (อินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ (มาเลเซีย) อิเล็กทรอนิกส์ (ฟิลิปปินส์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ (สิงคโปร์) โดยดำเนินการ ดังนี้
* จัดทำร่างความตกลงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับ 11 สาขา นำร่อง (ASEAN Framework Agreement for the Integration of Priority Sectors) ประกอบด้วยประเด็นเรื่องการเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมืออื่นๆ
* เจรจาจัดทำ Roadmaps สำหรับ 11 สาขานำร่อง จำแนกเป็น
การดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมาย AEC
การก้าวไปสู่การเป็น AEC ตามมติของผู้นำอาเซียน ดำเนินการโดยเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนที่มีอยู่เดิม และริเริ่มการดำเนินการใหม่เพื่อกระชับความร่วมมือให้แข็งแกร่งขึ้น นับตั้งแต่จัดตั้งอาเซียนในปี 2510 อาเซียนได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ เรื่อยมา ได้แก่ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เขตการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) การเปิดเสรีการค้าบริการตามกรอบความตกลงเปิดเสรีด้านการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Trade in Services : AFAS) รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ขณะนี้ อาเซียนเห็นพ้องกันในการเร่งรัดการเปิดเสรีสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง และกำหนดประเทศสมาชิกที่รับผิดชอบในแต่ละสาขา ได้แก่ การท่องเที่ยวและการบิน ไทยรับผิดชอบ สินค้าเกษตรและสินค้าประมง (พม่า) ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้ (อินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ (มาเลเซีย) อิเล็กทรอนิกส์ (ฟิลิปปินส์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ (สิงคโปร์) โดยดำเนินการ ดังนี้
* จัดทำร่างความตกลงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับ 11 สาขา นำร่อง (ASEAN Framework Agreement for the Integration of Priority Sectors) ประกอบด้วยประเด็นเรื่องการเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมืออื่นๆ
* เจรจาจัดทำ Roadmaps สำหรับ 11 สาขานำร่อง จำแนกเป็น
- ด้านสินค้า 9 สาขา ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีมาตรการหลักในการเปิดเสรี และอำนวยความสะดวกทางการค้าด้านต่างๆ ได้แก่ การลดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการทางศุลกากร มาตรฐานและความ สอดคล้อง และการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และแรงงานที่มีฝีมือ ทั้งนี้สมาชิกอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดการลดภาษีสินค้านำร่องเหลือ 0% ให้เร็วขึ้น 3 ปี เป็นปี 2007 จากกรอบ AFTA เดิมที่ภาษีจะเป็น 0% ในปี 2010 สำหรับประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และเร็วขึ้น 3 ปี เป็นปี 2012 จากกำหนดเดิมปี 2015 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ
- ด้านบริการ 2 สาขา ได้แก่ สาขาท่องเที่ยว และการบิน ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้รับผิดชอบหลัก สำหรับด้านท่องเที่ยว ให้เร่งปรับประสานกฎระเบียบในการออกวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะ เดินทางมาอาเซียน และยกเว้นวีซ่าสำหรับคนอาเซียนที่เดินทางภายในอาเซียน สนับสนุนการการเผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุนด้านท่องเที่ยวของอาเซียนทางอิน เทอร์เน็ต ส่งเสริมการบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันทางวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องเพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงลึกด้านท่องเที่ยว ส่วนด้านการบิน อยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีการบริการด้านการขนส่งทางอากาศของ อาเซียน นอกจากนี้ ไทย สิงคโปร์ และบรูไนฯ ได้นำร่องนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรีในอาเซียน โดยเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) ทำให้การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างกันสะดวกรวดเร็วขึ้น
อาเซียนจะเสนอร่างความตกลงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน และ Roadmap สำหรับ 11 สาขานำร่อง ต่อผู้นำอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศลาว เพื่อเป็นแผนงานการดำเนินการของอาเซียนต่อไป
ไทย & AEC : ผลดีและข้อควรระวัง
ผลดี
การจัดตั้ง AEC เป็นการผนึกกำลังร่วมกันของภูมิภาค และเป็นรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งอาเซียนจะได้ประโยชน์จากขนาดของตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน (Economy of Scale) เพราะอาเซียนเป็นตลาดใหญ่มีประชากรประมาณ 520 ล้านคน ผลิตภัณฑ์-มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกัน 10 ประเทศ ราว 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าในเวทีการค้าโลก นอกจากนี้ การจัดตั้ง AEC ทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจของประเทศต่างๆ ซึ่งต้องการเข้ามาร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ขณะนี้อาเซียนกำลังดำเนินการสร้างพันธมิตรนอกภูมิภาค โดยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนหลายประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สำหรับไทย การจัดตั้ง AEC จะเป็นผลดีต่อไทย เพราะอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด ประกอบกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของไทยเอื้ออำนวยให้ไทยเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจของภูมิภาค และที่ผ่านมาอาเซียนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มที่จะทวี บทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
- ด้านบริการ 2 สาขา ได้แก่ สาขาท่องเที่ยว และการบิน ซึ่งไทยเป็นประเทศผู้รับผิดชอบหลัก สำหรับด้านท่องเที่ยว ให้เร่งปรับประสานกฎระเบียบในการออกวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะ เดินทางมาอาเซียน และยกเว้นวีซ่าสำหรับคนอาเซียนที่เดินทางภายในอาเซียน สนับสนุนการการเผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุนด้านท่องเที่ยวของอาเซียนทางอิน เทอร์เน็ต ส่งเสริมการบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันทางวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องเพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงลึกด้านท่องเที่ยว ส่วนด้านการบิน อยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีการบริการด้านการขนส่งทางอากาศของ อาเซียน นอกจากนี้ ไทย สิงคโปร์ และบรูไนฯ ได้นำร่องนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรีในอาเซียน โดยเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า (Cargo Open Skies Agreement) ทำให้การขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างกันสะดวกรวดเร็วขึ้น
อาเซียนจะเสนอร่างความตกลงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน และ Roadmap สำหรับ 11 สาขานำร่อง ต่อผู้นำอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศลาว เพื่อเป็นแผนงานการดำเนินการของอาเซียนต่อไป
ไทย & AEC : ผลดีและข้อควรระวัง
ผลดี
การจัดตั้ง AEC เป็นการผนึกกำลังร่วมกันของภูมิภาค และเป็นรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งอาเซียนจะได้ประโยชน์จากขนาดของตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน (Economy of Scale) เพราะอาเซียนเป็นตลาดใหญ่มีประชากรประมาณ 520 ล้านคน ผลิตภัณฑ์-มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกัน 10 ประเทศ ราว 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าในเวทีการค้าโลก นอกจากนี้ การจัดตั้ง AEC ทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจของประเทศต่างๆ ซึ่งต้องการเข้ามาร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ขณะนี้อาเซียนกำลังดำเนินการสร้างพันธมิตรนอกภูมิภาค โดยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนหลายประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สำหรับไทย การจัดตั้ง AEC จะเป็นผลดีต่อไทย เพราะอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด ประกอบกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของไทยเอื้ออำนวยให้ไทยเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจของภูมิภาค และที่ผ่านมาอาเซียนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มที่จะทวี บทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
สรุปได้ดังนี้
- การค้า - การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดส่งออก อันดับ 1 ของไทยนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2547 การค้ารวมระหว่างไทย-อาเซียนขยายตัวถึง 30.85% เป็นมูลค่า 14,451.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน 19.21% ของการค้าไทยทั้งหมดกับโลก นับว่าอาเซียนเป็นคู่ค้าของไทยที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุด ขณะเดียวกันอาเซียนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย นับตั้งแต่ปี 2540 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รองจากญี่ปุ่นที่ไทยนำเข้าเป็นอันดับ 1 สำหรับดุลการค้าระหว่างไทย-อาเซียน ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับอาเซียนนับตั้งแต่ปี 2536 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของไทยไปอาเซียน ได้แก่ การลดภาษีตามพันธกรณี AFTA ที่ทำให้อัตราภาษีเหลือต่ำมากเกือบเป็น 0% ทำให้สินค้าส่งออกของไทยมี ศักยภาพในตลาดอาเซียนมากขึ้น สามารถแข่งขันกับสินค้าจากนอกอาเซียนได้ เนื่องจากราคา ต่ำลง นอกจากนี้ การมุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าจากมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ของอาเซียน ทำให้สินค้าไทยส่งออกไปในอาเซียนได้สะดวก ไม่ประสบปัญหาจาก NTBs ดังเช่นที่มักพบในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ การส่งออกของไทยได้รับอานิสงส์จากการที่เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวดี ขึ้น โดยช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การเติบโตของ GDP ของอาเซียนโดยรวมเพิ่มขึ้น 5.9% นับว่าเป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- การลงทุน - การลงทุนโดยตรง (FDI) จากประเทศอาเซียนในไทยมีความสำคัญ โดยมีสัดส่วนเกือบ 20% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด การลงทุนของประเทศ อาเซียนในไทยที่ขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2547 ที่สำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยสิงคโปร์ได้ยื่นขออนุมัติโครงการรวมมูลค่า 9,623 ล้านบาท มาเลเซีย 8,413 ล้านบาท และฟิลิปปินส์ 2,039 ล้านบาท ดังนั้นการเร่งรัดการเปิดเสรีด้านการลงทุนของ AEC จะขจัดอุปสรรคด้านการลงทุนในภูมิภาคช่วยดึงดูดนักลงทุนทั้งในและนอกอาเซียน เข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนแข่งกับประเทศนอกภูมิภาค เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งขณะนี้มีโดดเด่นทางเศรษฐกิจมากขึ้น - การท่องเที่ยว – นักท่องเที่ยวจากอาเซียนที่เดินทางมาไทยเมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาไทยสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 23.62% ในปี 2543 เป็น 26.33% ในปี 2546 ชาวมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยมากที่สุดมีสัดส่วนถึง 13.29% และนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์คิดเป็นสัดส่วน 6.29% เทียบกับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ได้แก่ สหภาพยุโรปที่มีสัดส่วน 22.65% สหรัฐฯ (4.65%) เอเชียใต้ (3.88%) ออสเตรเลีย (2.82%) ตะวันออกกลาง (2.05%) และแอฟริกา (0.67%) ดังนั้น การยกเว้นวีซ่าสำหรับคนอาเซียนที่เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน และประสานความร่วมมือในการ ออกวีซ่าของอาเซียนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในอาเซียน คาดว่าจะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวภายใน อาเซียนสะดวกขึ้น และจะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศอาเซียนและนอกอาเซียนเดินทางมาไทยมาก ขึ้นด้วย
ข้อควรระวัง
การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2563 ซึ่งเป็นเป้าหมาย ท้าทายของอาเซียน เหลือเวลาอีกเพียง 16 ปี จึงจำเป็นต้องมีแนวทางการดำเนินการที่มีประสิทธิ-ภาพ รวมทั้งความตั้งใจจริงของทุกประเทศร่วมกัน ขณะเดียวกันจากระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนยังมีความแตกต่างกัน มาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน - กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม – จึงควรมีมาตรการลดช่องว่างความแตกต่างของระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อ ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการเปิดเสรีตามพันธกรณีต่างๆ ของอาเซียนให้ได้โดยเร็ว และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในที่สุด
ปูมหลังความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน
นับตั้งแต่อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2510 ได้พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว มีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้
- เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) – การจัดตั้ง AFTA ในปี 2535 มุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier : NTBs) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในกลุ่มอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) จากตัวเลขการค้าภายในกลุ่มอาเซียนในปีก่อนเริ่มจัดตั้ง AFTA จนถึงปัจจุบันนี้ เห็นได้ชัดว่า Intra-ASEAN Trade ขยายตัวขึ้นอย่างมาก สัดส่วนของ Intra-ASEAN Trade เทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดของ อาเซียน เพิ่มขึ้นจาก 19.3% ในปี 2536 เป็น 22.6% ในปี 2545 โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 82,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2536 เป็น 159,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2545 และอัตราการ เติบโตเฉลี่ยของ Intra-ASEAN Trade ในช่วง 2536-2545 คิดเป็น 9.4% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของการค้าอาเซียนกับนอกภูมิภาค อาเซียน ซึ่งอยู่ในระดับ 7.6% ต่อปี ดังนั้น ผลของ AFTA ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Regional Economic Integration) ของ อาเซียนที่แน่นแฟ้นขึ้น
ขณะนี้อาเซียนได้บรรลุเป้าหมายการลดภาษีภายใต้ AFTA โดยปัจจุบันภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเกือบทั้งหมด (99.6%) ของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ อยู่ในระดับเฉลี่ย 2.39% และอาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นเขตการค้าเสรีอย่างสมบูรณ์แบบ คือ ภาษีศุลกากรของทุกรายการสินค้าจะทยอยลดลงเหลือ 0% ในปี 2553-2558
- เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) - อาเซียนเริ่มดำเนินการเขตการลงทุนของอาเซียนภายใต้กรอบความตกลง AIA ในปี 2541 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอาเซียน สร้างบรรยากาศการลงทุนที่เสรี และมีความโปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนทั้งในอาเซียนและดึงดูดการลงทุนจากนอกอาเซียน โดยมีโครงการความร่วมมือด้านการลงทุน และให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกับคนในชาติ (National Treatment) ซึ่งมี เป้าหมายที่จะเปิดเสรีการลงทุนในอุตสาหกรรมทั้งหมดแก่นักลงทุนในอาเซียนภาย ในปี 2553 และนักลงทุนทั่วไปในปี 2563 ต่อมาได้เร่งรัดให้กำหนดเวลาการเปิดเสรีด้านการลงทุนแก่นักลงทุนทั่วไปเร็ว ขึ้น 10 ปีจากเดิมปี 2563 เป็นปี 2553 เท่ากับกำหนดเวลาการเปิดเสรีให้นักลงทุนในอาเซียน ส่วนประเทศสมาชิกใหม่สามารถยืดหยุ่นได้จนถึงปี 2558
ปี 2546 อาเซียนตกลงขยายขอบเขตของ AIA ครอบคลุมการเปิดเสรีการลงทุนด้านการผลิต เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และเหมืองแร่ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาเหล่านี้ อย่างกว้างขวางขึ้น และเร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่จัดอยู่ในบัญชีอ่อนไหว (sensitive list)
- การเปิดเสรีการค้าบริการ - อาเซียนได้เริ่มเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบความตกลง AFAS ในปี 2539 โดยดำเนินการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเป็นรอบๆ ละ 3 ปี เพื่อมุ่งขจัดอุปสรรค/ข้อจำกัดด้านการค้าบริการภายในอาเซียน และปรับปรุงให้การให้บริการของอาเซียนมีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถทาง การแข่งขัน การเจรจา 2 รอบที่ผ่านมา (ปี 2539-2544) เน้น 7 สาขาบริการ ได้แก่ การเงิน (การธนาคาร ประกันภัย ธุรกิจเงินทุน เครดิตฟองซิเอร์ และธุรกิจหลักทรัพย์) การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศการสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว ก่อสร้าง และบริการธุรกิจ (เน้นบริการวิชาชีพ)
ขณะนี้การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการอยู่ในรอบที่ 3 เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 – 31 ธันวาคม 2547 โดยการเจรจาครอบคลุมบริการทุกสาขา และอาเซียนต้องการให้เปิดเสรีการค้าบริการให้ได้อย่างสมบูรณ์ก่อนปี 2563 ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ของอาเซียนปี 2563 (ASEAN Vision 2020) จึงเร่งรัดการเปิดตลาดในแนวทางใหม่ คือนอกเหนือจากการเปิดตลาดร่วมกันทั้ง 10 ประเทศแล้ว ยังเปิดตลาดให้แก่กันและกันตาม หลักการ ASEAN-X ด้วย คือ ประเทศสมาชิกตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปสามารถเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นได้ โดยไม่ต้องขยายผลการเปิดตลาดให้สมาชิกอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาโดยวิธี ดังกล่าว
การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในรอบปัจจุบันนี้จะต้องสรุปผลภายในปี 2547 ขณะนี้อาเซียน 10 ประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาเปิดตลาดให้แก่กันมากขึ้นในลักษณะของการให้ บริการข้ามพรมแดน การอนุญาตให้จัดตั้งธุรกิจ และให้บุคลากรจากประเทศอาเซียนอื่นเข้ามาทำงานได้ในสาขาต่างๆ ได้แก่ บริการวิชาชีพ (ด้านบัญชี ภาษีอากร วิศวกรรม สถาปัตยกรรม) บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมบางประเภทการก่อสร้าง การท่องเที่ยว (สำนักงานตัวแทนท่องเที่ยว และสวนสนุก) การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางทะเล เป็นต้น
นอกจากนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมกัน (Mutual Recognition Agreements : MRAs) ของสาขาวิชาชีพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทำให้บุคลากรผู้ให้บริการที่เป็นนักวิชาชีพ และแรงงานที่มีฝีมือสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้สะดวกขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการจัดทำ MRA ในสาขาวิศวกรรม และสาขาสถาปัตยกรรมให้เสร็จภายในปี 2547 เป็นลำดับแรก ก่อนที่จะดำเนินการในสาขาอื่นต่อไป ได้แก่ บัญชี และบุคลากรในธุรกิจท่องเที่ยว
- ความร่วมมือด้านการเงิน – ในปี 2546 อาเซียนได้จัดทำ Roadmap เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาตลาดทุน (2) การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (3) การเปิดเสรีบัญชีทุน (capital account) และ (4) ความร่วมมือเกี่ยวกับเงินสกุลอาเซียน การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการค้าและการลงทุนของ อาเซียนต่อไป
- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น
+ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภายใต้ ASEAN Industrial Cooperation Scheme (AICO)
+ความร่วมมือด้านขนส่ง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน ข้ามแดน และการขนส่งหลายรูปแบบ
+ความร่วมมือด้านการจัดทำโครงข่ายเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline Network)
สรุป
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่กระชับมากขึ้นเพื่อการเป็น AEC ทำให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในด้านหนึ่งคือการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันสมาชิกอาเซียนก็จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อดึงดูดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ดังนั้น การบรรเทาความขัดแย้งใน 2 ส่วนนี้จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทย ต้องแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศในอาเซียน การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากการสำรวจของ International Management Development (IMD) ในปี 2547 พบว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่อันดับที่ 29 จากทั้งหมด 60 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2544 อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยยังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่า สิงคโปร์และมาเลเซีย โดย IMD เห็นว่าไทยควรพัฒนาด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เช่น กฎหมายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา และอัตราส่วนครูต่อนักเรียน
นอกจากนี้ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นว่า การที่ไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในหลายๆ ด้าน เช่น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย (Tourism Capital of Asia) และศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ จะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งมีแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกันเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ดังนั้น ภายใต้กระแสการเปิดเสรีของโลกที่เข้มข้นและสภาพทางธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงใน ปัจจุบันนี้ ไทยควรพัฒนาขีดความสามารถทั้งด้านการค้า บริการและการลงทุน โดยส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาทักษะและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
สำหรับด้านการตลาด ควรพัฒนาให้แบรนด์ของไทยเป็นแบรนด์ของภูมิภาคและของโลก (Regional and Global Brands) ส่วนภาคเกษตรกรรมควรพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ พัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่า นอกจากไทยต้องแข่งขันกับประเทศอาเซียนแล้ว ยังจะต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และจะต้องเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันจากการเปิดเสรี FTA ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการจัดทำ FTA สองฝ่ายกับประเทศต่างๆ 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ อินเดีย บาร์เรน เปรู และกลุ่มเศรษฐกิจ BIMST-EC (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย ภูฎาน และเนปาล)
- การค้า - การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดส่งออก อันดับ 1 ของไทยนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2547 การค้ารวมระหว่างไทย-อาเซียนขยายตัวถึง 30.85% เป็นมูลค่า 14,451.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน 19.21% ของการค้าไทยทั้งหมดกับโลก นับว่าอาเซียนเป็นคู่ค้าของไทยที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุด ขณะเดียวกันอาเซียนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 ของไทย นับตั้งแต่ปี 2540 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รองจากญี่ปุ่นที่ไทยนำเข้าเป็นอันดับ 1 สำหรับดุลการค้าระหว่างไทย-อาเซียน ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับอาเซียนนับตั้งแต่ปี 2536 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของไทยไปอาเซียน ได้แก่ การลดภาษีตามพันธกรณี AFTA ที่ทำให้อัตราภาษีเหลือต่ำมากเกือบเป็น 0% ทำให้สินค้าส่งออกของไทยมี ศักยภาพในตลาดอาเซียนมากขึ้น สามารถแข่งขันกับสินค้าจากนอกอาเซียนได้ เนื่องจากราคา ต่ำลง นอกจากนี้ การมุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าจากมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ของอาเซียน ทำให้สินค้าไทยส่งออกไปในอาเซียนได้สะดวก ไม่ประสบปัญหาจาก NTBs ดังเช่นที่มักพบในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ การส่งออกของไทยได้รับอานิสงส์จากการที่เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวดี ขึ้น โดยช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การเติบโตของ GDP ของอาเซียนโดยรวมเพิ่มขึ้น 5.9% นับว่าเป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- การลงทุน - การลงทุนโดยตรง (FDI) จากประเทศอาเซียนในไทยมีความสำคัญ โดยมีสัดส่วนเกือบ 20% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด การลงทุนของประเทศ อาเซียนในไทยที่ขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2547 ที่สำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยสิงคโปร์ได้ยื่นขออนุมัติโครงการรวมมูลค่า 9,623 ล้านบาท มาเลเซีย 8,413 ล้านบาท และฟิลิปปินส์ 2,039 ล้านบาท ดังนั้นการเร่งรัดการเปิดเสรีด้านการลงทุนของ AEC จะขจัดอุปสรรคด้านการลงทุนในภูมิภาคช่วยดึงดูดนักลงทุนทั้งในและนอกอาเซียน เข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนแข่งกับประเทศนอกภูมิภาค เช่น จีน และอินเดีย ซึ่งขณะนี้มีโดดเด่นทางเศรษฐกิจมากขึ้น - การท่องเที่ยว – นักท่องเที่ยวจากอาเซียนที่เดินทางมาไทยเมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาไทยสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 23.62% ในปี 2543 เป็น 26.33% ในปี 2546 ชาวมาเลเซียเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยมากที่สุดมีสัดส่วนถึง 13.29% และนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์คิดเป็นสัดส่วน 6.29% เทียบกับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ได้แก่ สหภาพยุโรปที่มีสัดส่วน 22.65% สหรัฐฯ (4.65%) เอเชียใต้ (3.88%) ออสเตรเลีย (2.82%) ตะวันออกกลาง (2.05%) และแอฟริกา (0.67%) ดังนั้น การยกเว้นวีซ่าสำหรับคนอาเซียนที่เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน และประสานความร่วมมือในการ ออกวีซ่าของอาเซียนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในอาเซียน คาดว่าจะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวภายใน อาเซียนสะดวกขึ้น และจะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศอาเซียนและนอกอาเซียนเดินทางมาไทยมาก ขึ้นด้วย
ข้อควรระวัง
การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2563 ซึ่งเป็นเป้าหมาย ท้าทายของอาเซียน เหลือเวลาอีกเพียง 16 ปี จึงจำเป็นต้องมีแนวทางการดำเนินการที่มีประสิทธิ-ภาพ รวมทั้งความตั้งใจจริงของทุกประเทศร่วมกัน ขณะเดียวกันจากระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนยังมีความแตกต่างกัน มาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน - กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม – จึงควรมีมาตรการลดช่องว่างความแตกต่างของระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อ ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการเปิดเสรีตามพันธกรณีต่างๆ ของอาเซียนให้ได้โดยเร็ว และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในที่สุด
ปูมหลังความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน
นับตั้งแต่อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2510 ได้พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว มีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้
- เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) – การจัดตั้ง AFTA ในปี 2535 มุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier : NTBs) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในกลุ่มอาเซียน (Intra-ASEAN Trade) จากตัวเลขการค้าภายในกลุ่มอาเซียนในปีก่อนเริ่มจัดตั้ง AFTA จนถึงปัจจุบันนี้ เห็นได้ชัดว่า Intra-ASEAN Trade ขยายตัวขึ้นอย่างมาก สัดส่วนของ Intra-ASEAN Trade เทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดของ อาเซียน เพิ่มขึ้นจาก 19.3% ในปี 2536 เป็น 22.6% ในปี 2545 โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 82,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2536 เป็น 159,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2545 และอัตราการ เติบโตเฉลี่ยของ Intra-ASEAN Trade ในช่วง 2536-2545 คิดเป็น 9.4% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของการค้าอาเซียนกับนอกภูมิภาค อาเซียน ซึ่งอยู่ในระดับ 7.6% ต่อปี ดังนั้น ผลของ AFTA ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Regional Economic Integration) ของ อาเซียนที่แน่นแฟ้นขึ้น
ขณะนี้อาเซียนได้บรรลุเป้าหมายการลดภาษีภายใต้ AFTA โดยปัจจุบันภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเกือบทั้งหมด (99.6%) ของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ อยู่ในระดับเฉลี่ย 2.39% และอาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นเขตการค้าเสรีอย่างสมบูรณ์แบบ คือ ภาษีศุลกากรของทุกรายการสินค้าจะทยอยลดลงเหลือ 0% ในปี 2553-2558
- เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) - อาเซียนเริ่มดำเนินการเขตการลงทุนของอาเซียนภายใต้กรอบความตกลง AIA ในปี 2541 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอาเซียน สร้างบรรยากาศการลงทุนที่เสรี และมีความโปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนทั้งในอาเซียนและดึงดูดการลงทุนจากนอกอาเซียน โดยมีโครงการความร่วมมือด้านการลงทุน และให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกับคนในชาติ (National Treatment) ซึ่งมี เป้าหมายที่จะเปิดเสรีการลงทุนในอุตสาหกรรมทั้งหมดแก่นักลงทุนในอาเซียนภาย ในปี 2553 และนักลงทุนทั่วไปในปี 2563 ต่อมาได้เร่งรัดให้กำหนดเวลาการเปิดเสรีด้านการลงทุนแก่นักลงทุนทั่วไปเร็ว ขึ้น 10 ปีจากเดิมปี 2563 เป็นปี 2553 เท่ากับกำหนดเวลาการเปิดเสรีให้นักลงทุนในอาเซียน ส่วนประเทศสมาชิกใหม่สามารถยืดหยุ่นได้จนถึงปี 2558
ปี 2546 อาเซียนตกลงขยายขอบเขตของ AIA ครอบคลุมการเปิดเสรีการลงทุนด้านการผลิต เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และเหมืองแร่ รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาเหล่านี้ อย่างกว้างขวางขึ้น และเร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่จัดอยู่ในบัญชีอ่อนไหว (sensitive list)
- การเปิดเสรีการค้าบริการ - อาเซียนได้เริ่มเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบความตกลง AFAS ในปี 2539 โดยดำเนินการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเป็นรอบๆ ละ 3 ปี เพื่อมุ่งขจัดอุปสรรค/ข้อจำกัดด้านการค้าบริการภายในอาเซียน และปรับปรุงให้การให้บริการของอาเซียนมีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถทาง การแข่งขัน การเจรจา 2 รอบที่ผ่านมา (ปี 2539-2544) เน้น 7 สาขาบริการ ได้แก่ การเงิน (การธนาคาร ประกันภัย ธุรกิจเงินทุน เครดิตฟองซิเอร์ และธุรกิจหลักทรัพย์) การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศการสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว ก่อสร้าง และบริการธุรกิจ (เน้นบริการวิชาชีพ)
ขณะนี้การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการอยู่ในรอบที่ 3 เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 – 31 ธันวาคม 2547 โดยการเจรจาครอบคลุมบริการทุกสาขา และอาเซียนต้องการให้เปิดเสรีการค้าบริการให้ได้อย่างสมบูรณ์ก่อนปี 2563 ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ของอาเซียนปี 2563 (ASEAN Vision 2020) จึงเร่งรัดการเปิดตลาดในแนวทางใหม่ คือนอกเหนือจากการเปิดตลาดร่วมกันทั้ง 10 ประเทศแล้ว ยังเปิดตลาดให้แก่กันและกันตาม หลักการ ASEAN-X ด้วย คือ ประเทศสมาชิกตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปสามารถเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นได้ โดยไม่ต้องขยายผลการเปิดตลาดให้สมาชิกอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาโดยวิธี ดังกล่าว
การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในรอบปัจจุบันนี้จะต้องสรุปผลภายในปี 2547 ขณะนี้อาเซียน 10 ประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาเปิดตลาดให้แก่กันมากขึ้นในลักษณะของการให้ บริการข้ามพรมแดน การอนุญาตให้จัดตั้งธุรกิจ และให้บุคลากรจากประเทศอาเซียนอื่นเข้ามาทำงานได้ในสาขาต่างๆ ได้แก่ บริการวิชาชีพ (ด้านบัญชี ภาษีอากร วิศวกรรม สถาปัตยกรรม) บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมบางประเภทการก่อสร้าง การท่องเที่ยว (สำนักงานตัวแทนท่องเที่ยว และสวนสนุก) การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางทะเล เป็นต้น
นอกจากนี้ อาเซียนได้ตกลงที่จะจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมกัน (Mutual Recognition Agreements : MRAs) ของสาขาวิชาชีพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทำให้บุคลากรผู้ให้บริการที่เป็นนักวิชาชีพ และแรงงานที่มีฝีมือสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้สะดวกขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการจัดทำ MRA ในสาขาวิศวกรรม และสาขาสถาปัตยกรรมให้เสร็จภายในปี 2547 เป็นลำดับแรก ก่อนที่จะดำเนินการในสาขาอื่นต่อไป ได้แก่ บัญชี และบุคลากรในธุรกิจท่องเที่ยว
- ความร่วมมือด้านการเงิน – ในปี 2546 อาเซียนได้จัดทำ Roadmap เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาตลาดทุน (2) การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (3) การเปิดเสรีบัญชีทุน (capital account) และ (4) ความร่วมมือเกี่ยวกับเงินสกุลอาเซียน การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนการค้าและการลงทุนของ อาเซียนต่อไป
- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น
+ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภายใต้ ASEAN Industrial Cooperation Scheme (AICO)
+ความร่วมมือด้านขนส่ง ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน ข้ามแดน และการขนส่งหลายรูปแบบ
+ความร่วมมือด้านการจัดทำโครงข่ายเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซของอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline Network)
สรุป
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่กระชับมากขึ้นเพื่อการเป็น AEC ทำให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในด้านหนึ่งคือการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันสมาชิกอาเซียนก็จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อดึงดูดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ดังนั้น การบรรเทาความขัดแย้งใน 2 ส่วนนี้จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทย ต้องแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศในอาเซียน การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากการสำรวจของ International Management Development (IMD) ในปี 2547 พบว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่อันดับที่ 29 จากทั้งหมด 60 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2544 อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยยังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่า สิงคโปร์และมาเลเซีย โดย IMD เห็นว่าไทยควรพัฒนาด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เช่น กฎหมายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา และอัตราส่วนครูต่อนักเรียน
นอกจากนี้ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เห็นว่า การที่ไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในหลายๆ ด้าน เช่น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย (Tourism Capital of Asia) และศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ จะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งมีแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกันเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ดังนั้น ภายใต้กระแสการเปิดเสรีของโลกที่เข้มข้นและสภาพทางธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงใน ปัจจุบันนี้ ไทยควรพัฒนาขีดความสามารถทั้งด้านการค้า บริการและการลงทุน โดยส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาทักษะและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
สำหรับด้านการตลาด ควรพัฒนาให้แบรนด์ของไทยเป็นแบรนด์ของภูมิภาคและของโลก (Regional and Global Brands) ส่วนภาคเกษตรกรรมควรพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ พัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่า นอกจากไทยต้องแข่งขันกับประเทศอาเซียนแล้ว ยังจะต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และจะต้องเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันจากการเปิดเสรี FTA ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการจัดทำ FTA สองฝ่ายกับประเทศต่างๆ 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ อินเดีย บาร์เรน เปรู และกลุ่มเศรษฐกิจ BIMST-EC (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย ภูฎาน และเนปาล)
http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=23505
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น